วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน
1. กฎหมาย คืออะไร? 
 ตอบ   กฎหมาย คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง? 
ตอบ  ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
      1.  กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์
                  รัฐาธิปัตย์ หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ    เช่น  ผู้นำสูงสุด  หรือหัวหน้าคณะปฎิวัติในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ   พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช        ส่วนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ตรากฎหมายโดยความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา

     2.  กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้ทั่วไป
                 กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค  หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้

      3. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป
                      กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว  ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก

      4. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตาม
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว  บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม
       5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ 
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายนั้น ๆ กำหนดไว้  เช่นการเสียสิทธิ   การชดใช้สินไหมทดแทน หรือการถูกลงโทษทางอาญา เช่น ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  และสูงสุดคือประหารชีวิต
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ  ความสำคัญ  1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
       2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

       3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

       4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
       ประโยชน์   ประโยชน์ของกฎหมายอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ข้อ ทั้งสามารถนำเอากฎหมายมาแยกแยะ 
ประโยชน์ดังนี้
1. สร้างความเป็นธรรม หรือความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะกฎหมายเป็นหลักกติกาที่ทุกคนจะ
ต้องปฏิบัติเสมอภาค เท่าเทียมกัน เมื่อการปฏิบัติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาเปรียบคนอื่น ขาดความ
ยุติธรรม กฎหมายก็จะเข้ามาสร้างความยุติธรรม ยุติข้อพิพาทไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังที่เรา
เรียกกันว่า ยุติธรรม สังคมก็จะได้รับความสุขจากผลของกฎหมายในด้านนี้
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย การเป็น ทนายความ
อัยการ ศาล ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยต่างฝ่ายต่างช่วยกันรักษาความถูกต้อง ความยุติธรรม
ให้เกิดขึ้นในสังคม
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เพราะถ้าประชาชนรู้กฎหมายก็จะเป็นการเสริมสร้าง
ความมั่นคงของการปกครอง และการบริหารงานทางการเมือง การปกครอง ประโยชน์สุขก็จะตกอยู่กับ
ประชาชน
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะกฎหมาย
ที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเท่าเทียมกัน ประชาชนก็จะเกิดความผาสุก ปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ
4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ  การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบ่งแยกตามข้อความของกฎหมายได้เป็น ประเภท
(1)   กฎหมายมหาชน (Public Law)
(2)   กฎหมายเอกชน (Private Law)
(3)   กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
 1.  กฎหมายมหาชน (Public Law)  ได้แก่  กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร  ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร  กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้  ดังนี้   
(1)   รัฐธรรมนูญ
(2)   กฎหมายปกครอง
(3)   กฎหมายอาญา
(4)   กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
(5)   กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
(6)   กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
          (1) รัฐธรรมนูญ หมายถึง   กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ  และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้น ๆ ต่อกันและกัน ลักษณะทั่วไปคือ
ก.  กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด  อำนาจอธิปไตย ใครเป็นเจ้าของ (มาตรา 
3  แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2540   บัญญัติว่า  อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้)
                        ข. รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน

            (2) กฎหมายปกครอง  ได้แก่กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลง
จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศแต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการปกครอง  ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การปกครอง (เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง  กรม หรือ เทศบาล สุขาภิบาล ฯลฯ  ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ต่อกันและกัน  และความเกี่ยวกับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร)  กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย  กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น  พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  พระราชบัญญัติเทศบาล  พระราชบัญญัติสุขาภิบาล  พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
 (3) กฎหมายอาญา  ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษ  แยกพิจารณาได้ดังนี้
                         การบัญญัติความผิด  หมายความว่า  การบัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา
                         การบัญญัติโทษ  หมายความว่า เมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว  ก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วย
 ประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น  3  ภาค ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ภาค 2 ความผิด ภาค 3 ลหุโทษ ภาค 1 ตามมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นได้ด้วย 
             หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา  มีดังนี้
(1)   จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย [1]
(2)   จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย  โทษอย่างไรก็ต้องลงอย่างนั้น  จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้
(3)   จะต้องตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด
(4)   การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย  อุดช่องว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
(5)   จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้จากความรับผิดไม่ได้(มาตรา64)

หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญา  มี  3  ข้อ
1.      ต้องมีการกระทำ  
2.      การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด  
3.      ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ    หรือ  ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด  
 (4) กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  หมายความถึงกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา  มีหลักการดังนี้
(1)   หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ
(2)   หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ
(3)   หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ
(4)   หลักการผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้  2  ประการ คือ 
(ก) การแต่งตั้ง  ย้าย  ถอดถอน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอนหรือโยกย้ายได้
(ข) การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการ  หลักประกันทั้ง  ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารจะให้คุณหรือโทษผู้พิพากษาไม่ได้  คณะกรรมการตุลาการเป็นคนกลางไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหาร
  (5) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา  ได้แก่  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม   เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดี  หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
(6) กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง  ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1)   หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ  ไม่ว่าจะเป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี  หรือคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีแพ่งก็ดี  คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง
(2)   การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่นว่า  การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับ หรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้  เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยานเอกสารนั้น
(3)   ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่  เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง  เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ ความจริงมิได้กู้ แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย จึงยอมรับว่ากู้มาจริง ศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลย  เว้นแต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นมาอ้างได้ ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้

2.  กฎหมายเอกชน(Private Law)  ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน เช่นเรื่องสัญญาซื้อขาย  กทำสัญญาซื้อขายกับ ข.   กับ ขต่างก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน  กจะบังคับ ขให้ตกลงกับ กอย่างใด ๆ โดย ขไม่สมัครใจไม่ได้  มีข้อที่ควรสังเกตว่าในบางกรณีรัฐก็ได้เข้ามาทำสัญญากับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นราษฎรได้  ซึ่งก็ต้องมีความสัมพันธ์เหมือนสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลธรรมดา  กฎหมายเอกชนที่กล่าวไว้ในที่นี้  ได้แก่  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และกฎหมายอื่น ๆ โดยสรุป
(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแบ่งแยกออกเป็นหลายลักษณะด้วยกัน  เช่น  นิติกรรมสัญญา หนี้  ซื้อขาย  เช่าทรัพย์  เช่าซื้อ  ละเมิด  ตัวแทน  นายหน้า  เป็นต้น  ในแต่ละลักษณะได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ไว้  ในการศึกษากฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์แทบทุกมหาวิทยาลัย  จะมีการศึกษาถึงเนื้อหารายละเอียดในกฎหมายนั้น ๆ แต่ละลักษณะ  แต่ในที่นี้ที่กล่าวถึงไว้ก็เพียงเพื่อให้ทราบว่า  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน เท่านั้น
(2) กฎหมายอื่น ๆ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน  อันมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนยังมีอยู่อีกมาก  อันได้แก่พระราชบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษอื่น  อย่างเช่น  ประมวลกฎหมายที่ดิน  ซึ่งจำกัดสิทธิในการมีที่ดินของบุคคลบางประเภท  เช่น คนต่างด้าว  เป็นต้น  พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา  พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งกฎหมายมหาชนและกึ่งกฎหมายเอกชน  เพราะมีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง
3.  กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law)  หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกัน  และแบ่งแยกออกตามความสัมพันธ์ได้  3  สาขา คือ
                        (1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ  เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน
                        (2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพ่ง  กฎหมายนี้จะกำหนดว่าถ้าข้อเท็จจริงพัวพันกับต่างประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เป็นคนต่างด้าว หรือการซื้อขายของที่อยู่ในต่างประเทศจะใช้กฎหมายภายในประเทศ  (คือกฎหมายไทยหรืออาจใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่คดีนั้น ๆ
                        (3) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันทางคดีอาญา  เช่น กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบ้างจะพึงฟ้องร้องในประเทศไทย ตลอดจนวิธีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
 ตอบ   เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย [1]  หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
              


           การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ  และ

การยกเลิกกฎหมาย เช่น  หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะมี

เนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้   หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว 

ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป

เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย
เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย  กล่าวคือ รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา  และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา  คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด  ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา คือ พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด จะถูกพิจารณาโดยสภาผุ้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย (Ordinary laws are voted by the two Chambers deliberating separately[3]
เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน ผลก็คือ ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน  โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป  เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท  กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า  เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด  จะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด ต่างก็เป็นกฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ คือต้องอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตราเป็นกฎหมาย  ดังนั้น จึงเม่ากับว่ากฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้  ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้


ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

          ในปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทย  มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร   กฎหมายจารีตประเพณีและหลักกฎหมายทั่วไป  แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่า  กฎหมายของประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร  ซึ่งกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่ละฉบับจะมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายที่แตกต่างกัน
          กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทั้งหมด  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายลูกของกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ส่วนพระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง  กฎหมายองค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ  ข้อบัญญัติจังหวัด  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร [4]  เหล่านี้เป็นกฎหมายที่อาศัยพระราชบัญญัติ  พระราชกำหนดในการออกเป็นกฎหมาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายจึงเรียงตามความเหมาะสมได้ดังต่อไปนี้

รัฐธรรมนูญ
                 หมายถึงกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่างๆ ของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด  กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้  หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้
รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
               เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายและกำหนด โดยถือว่ากฎหมายประเภทนี้ มีลักษณะและหลักเกณฑ์พิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา [5]
             อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญไทยมิได้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้สูงกว่าพระราชบัญญัติทั่วไป ดังนั้น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจึงมีศักดิ์ในลำดับชั้นเดียวกันกับพระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ
           เป็นกฎหมายลำดับชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เพราะพระราชบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญโดยตรง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าทีในการตราพระราชบัญญัติคือ รัฐสภา ดังนั้น รัฐสภาจะตราพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
            พระราชบัญญัติคือบทกฎหมายที่ใช้ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

พระราชกำหนด
                  พระราชกำหนด ( emergency decree )  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน

สถานการณ์ที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดได้

              พระราชกำหนดของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ได้แก่
1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ ภายในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาเท่านั้น
พระราชกฤษฎีกา
               พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  • ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System) 
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น (รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789) คือ เครื่องมือสำคัญของการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นฉบับแรกของโลกที่ใช้คำเรียกตัวเองว่าเป็น รัฐธรรมนูญ (Constitution) และเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) ที่ยังใช้บังคับอยู่ยาวนาน และเก่าแก่ที่สุดในโลก กล่าวคือ มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียง 27 ครั้ง เท่านั้น ในช่วงเวลา 200 กว่าปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญอื่นๆ มากมายทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ (the SupremeLaw of the Land) ตามมาตรา 6 อนุมาตรา 2 อาจตีความว่า รัฐธรรมนูญของรัฐหรือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐ หรือ สภาคองเกรสแห่งชาติ หากพบว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางแล้วจะทำให้กฎหมายเหล่านั้นไม่มี ผลบังคับใช้ คำวินิจฉัยอรรถคดีต่างๆ ของศาลสูงสุด คือเครื่องยืนยันได้ถึงหลักการแห่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญฉบับ นี้
7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System) 
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น (กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่ น่าสนใจ คือ อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้รัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษที่สะท้อน ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงที่ละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหา กษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20
  ดังนั้น การที่จะเข้าใจรัฐธรรมนูญอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นก็คือ การที่มีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงประวัติ และที่มาของรัฐธรรมนูญรวมถึงหลักการสำคัญที่ถูกกำหนดเป็นพื้นฐานของรัฐ ธรรมนูญเพื่อที่จะเห็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญอังกฤษ)
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ    4  แบบ  

ระบบกฎหมาย

กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
  • ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น
  • ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น
  • ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น
  • ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)


หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
    
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร  ก่อนกล่าวถึงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงขอท้าวความถึงที่มาเสียก่อน

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?

ตอบ  องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ















วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2012
Flag of the United States
ค.ศ. 2008 ←6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012→ ค.ศ. 2016

 Defense.gov photo essay 120528-D-BW835-540(2).jpgMitt Romney speaking close up cropped.jpg
ผู้แทนพรรคบารัก โอบามามิตต์ รอมนีย์
พรรคพรรคเดโมแครตพรรครีพับลิกัน
Home stateรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์
Running mateโจ ไบเดนพอล ไรอัน
Electoral vote332206
States carried26 + ดี.ซี.24
คะแนนนิยม61,681,462[1]58,488,199[1]
ร้อยละ50.6%[1]47.9%[1]

ElectoralCollege2012.svg
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่รอมนีย์/ไรอันชนะ
ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น

ประธานาธิบดี ก่อนการเลือกตั้ง
บารัก โอบามา
พรรคเดโมแครต
ประธานาธิบดี หลังการเลือกตั้ง
บารัก โอบามา
พรรคเดโมแครต
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย

[แก้] อ้างอิง